4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก

ราคาน้ำมัน

ปัจจุบันกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก นอกจากจะเป็นเรื่องของการซื้อขายส่งออกทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระหว่างประเทศแล้ว สิ่งที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนหลักๆ อีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือ “ราคาน้ำมันโลก” เพราะทุกอุตสาหกรรมล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาอาศัยการขนส่งในการขยายและดำเนินธุรกิจเกือบทั้งสิ้นครับ วันนี้เราจึงอยากมาพาทุกๆ ท่านไปศึกษาเกี่ยวกับ “4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก” กันเพื่อเป็นความรู้ครับ

2 กลุ่มผู้ถือครองตลาดน้ำมันระดับโลก

●Brent Blend เกิดจากการคำนวณราคาเฉลี่ยของราคาน้ำมันจากแหล่งผลิต 15 แหล่งในบริเวณทะเลเหนือ (North Sea) ของมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแอ่งน้ำมันของประเทศนอร์เวย์ เดนมาร์ค และเยอรมัน น้ำมันดิบที่ซื้อขายในตลาดนี้จะมีระดับราคาเฉลี่ยสูงกว่าในตลาดอื่นๆ เนื่องจากแหล่งน้ำมันในทะเลเหนืออยู่ใต้ดินในระดับที่ลึกมากกว่าแหล่งอื่นๆ และเป็นแหล่งที่มีการขุดเจาะน้ำมันมาต่อเนื่องยาวนานแล้ว ดังนั้นแท่นขุดเจาะในบริเวณนี้จึงมีอายุเฉลี่ยที่สูงและกำลังการผลิตมีไม่สูงนัก ทำให้ราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดนี้เป็นน้ำมันคุณภาพดี (Light Sweet Crude Oil) ด้วยต้นทุนที่สูงและยังถูกใช้เป็นราคาอ้างอิงในทวีปยุโรป, แอฟริกา และในตะวันออกกลาง มีการประมาณการกันว่า 2 ใน 3 ของปริมาณน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในตลาดโลกทุกวันนี้จะอ้างอิงราคาจากราคา Brent Blend นี้

●The OPEC Reference Basket ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการผลิตของประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC (The Organization of the Petroleum Exporting Countries) หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกทั้ง 12 ประเทศอันได้แก่ อัลจีเรีย, แองโกล่า, เอกวาดอร์, อีหร่าน, อีรัค, คูเวต, ลิเบีย, ไนจีเรีย, กาตาร์, ซาอุดิอาราเบีย, สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต และเวเนซูเอลาร์

4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก

ขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจโลก เนื่องจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เมื่อใดที่เศรษฐกิจเติบโต ความต้องการใช้น้ำมันจะสูงขึ้น ในทางกลับกันราคาน้ำมันอาจปรับตัวลดลงเมื่อเศรษฐกิจไม่ขยายตัวหรือถดถอย เพราะมีปริมาณน้ำมันมากกว่าความต้องการของตลาดนั้นเองครับ

ขึ้นกับกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันและโรงกลั่น เพราะถ้าหากผู้ผลิตไม่สามารถผลิตน้ำมันได้เพียงพอกับความต้องการก็จะส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากความต้องการน้ำมันดิบลดลงเหลือน้อยกว่ากำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ผลิตได้ ก็จะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หรือหากประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบปรับเพิ่มอัตราขึ้นลง ราคาน้ำมันโลกจะเพิ่มลดตามโดยปริยายครับ

อัตราแลกเปลี่ยนทางการเงิน เนื่องจากน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดหลักของโลกนั้นซื้อขายกันด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนเกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินท้องถิ่นกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้นทุนในการซื้อน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปในแต่ละประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

สถานการณ์ทางเมืองหรือภาวะสงคราม เราจะเห็นได้ว่าหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการเมือง หรือมีสงครามเกิดขึ้น ช่องทางการส่งออกน้ำมันและความต้องการใช้น้ำมันก็จะเปลี่ยนไปด้วย หากมีสภาวะสงครามที่ยาวนาน ราคาน้ำมันก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นนั้นเองครับ ยกตัวอย่า สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ก็จะทำให้เราประสบปัญหาเรื่องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันด้วยเช่นกัน

ประเทศที่มีน้ำมันดิบสำรองเป็นอันดับหนึ่งของโลก

ประเทศที่มีน้ำมันมากที่สุดนั้นก็คือ “เวเนซุเอลา” ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรอง 303,300 ล้านบาร์เรล แม้เวเนซุเอลาจะมีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุด และมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 90% ของรายได้จากการส่งออก หรือคิดเป็น 40% ของรายได้รัฐ แต่ทรัพยากรอันมีค่านี้กลับไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกวันนี้ดีขึ้น เพราะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดมาหลายสิบปี ผนวกกับยังมีปัญหาการเมืองในประเทศเรื่อยมา นำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก” ที่เราได้นำมาให้ทุกๆ ท่านได้ศึกษาไว้เป็นความรู้กันในวันนี้ หวังว่าจะชอบและเป็นประโยชน์กันนะครับ

About the Author

You may also like these