ประเทศไทยผลิตพลังงานจากแหล่งไหนมากที่สุด

พลังงานธรรมชาติ

ว่ากันด้วยเรื่องของ “พลังงาน” แล้วนั้น หลายๆ ท่านก็คงจะติดถึงโรงไฟฟ้าใหญ่ๆ ที่จะผลิตด้วยเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น ถ่านหินก็ดีหรือจะเป็นรถยนต์คันสวยที่ใช้พลังงานน้ำมัน  ซึ่งท่านทราบกันหรือไม่ครับว่า “ประเทศไทยผลิตพลังงานจากแหล่งไหนมากที่สุด” ซึ่งเราจะพาทุกๆ ท่านมาจัดอันดับกันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

พลังงานธรรมชาติเป็นอย่างไร?

พลังงานธรรมชาติในที่นี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ ที่น่าสนใจ อันได้แก่…

●พลังงานแสงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์คือก้อนพลังงานขนาดใหญ่ อันแผ่รังสีความร้อนรวมทั้งแสงมายังโลก พืชใช้แสงอาทิตย์เพื่อผลิตอาหาร ส่วนมนุษย์ได้นำแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

●พลังงานน้ำ พลังงานจากน้ำสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ ด้วยการเปิดให้น้ำซึ่งถูกกักเก็บไว้ในเขื่อน ไหลผ่านอุโมงค์ Turbine หรือกังหันน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ถึงกระนั้นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ก็สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้มาก

●พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นแหล่งพลังงานที่มนุษย์รู้จักกันมานานแล้วอีกทั้งยังเป็นพลังงานแรกในโลกที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน , น้ำมันดิบ , ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น โดยมีวันสูญสิ้น อีกทั้งพลังงานจากถ่านหินและน้ำมันดิบ ก็ยังก่อให้เกิดก๊าซอันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

●พลังงานจากลม พลังงานลมจัดเป็นพลังงานหมุนเวียนซึ่งไม่มีวันหมดไป เป็นพลังงานสะอาด หากแต่ก็จำเป็นต้องใช้ลมในปริมาณมหาศาลเพื่อขับเคลื่อน Generator หรือเครื่องผลิตไฟฟ้า และประชาชนบางส่วนอาจไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่ ที่จะต้องมีกังหันลมขนาดใหญ่โตตั้งอยู่ใกล้พื้นที่อาศัย ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกสร้างไว้ตามเขาห่างไกลผู้คน นอกจากนี้มันยังส่งผลต่อความแปรปรวนของอากาศโดยรอบบริเวณนั้นอีกด้วย อันเนื่องมาจากการหมุนของกังหันลมนั่นเอง

ประเทศไทยใช้พลังงานในสัดส่วนอย่างไรบ้าง?

ประเทศไทยใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ ปิโตรเลียมประมาณ 50% พลังงานไฟฟ้า 25.00% พลังงานถ่านหิน 15.00% และพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ 10.00% ของการใช้พลังงานทั้งหมด (เนื่องจากอัตราส่วนการใช้พลังงานในประเทศไทยนำเสนอในรูปแบบของพลังงานขั้นสุดท้าย ดังนั้น การวิเคราะห์อัตราส่วนการใช้พลังงานระหว่างพลังงานฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนจึงต้องเริ่มจากการคำนวณอัตราส่วนการใช้พลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าก่อน และนำอัตราส่วนที่ได้นั้นมาคำนวณในข้อมูลการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศไทยต่อไป

ประเทศไทยผลิตพลังงานจากแหล่งไหนมากที่สุด

ประเทศไทยสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันปิโตรเลียมควบคู่กับธรรมชาติสูงเป็นอันดับแรกๆ เพราะในอ่าวไทยมีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเยอะเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียนเลยหล่ะครับ เพียงแต่เน้นส่งออกเสียมากกว่า

แล้วพลังงานทดแทนดีอย่างไร?

พลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน, ปิโตรเลียม และ แก๊สธรรมชาติซึ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาลอันเป็นสาเหตุโลกร้อน ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญเช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานคลื่น, พลังงานความร้อนใต้พิภพ, เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งหากมองในมุมเชิงอนุรักษ์แล้วพลังงานทดแทนมีข้อดีหลายข้อ ซึ่งได้แก่..

●ช่วยลดภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อนเกิดจากการเผาไหม้ ทำให้เกิด CO2 ซึ่งเป็นต้นเหตุของการกักเก็บความร้อนทำให้พลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่สะท้อนกลับออกไปนอกโลกทำให้ความร้อนสะสมขึ้นทุกวัน ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังโชคดีที่เรามีพืชมีต้นไม้ที่คอยดูด CO2 เอาไปเปลี่ยนเป็นต้นไม้ ใบหญ้าต่างๆ ซึ่งมักจะมาจากการเผาไหม้ของน้ำมันนั้นเองครับ

●ลดค่าใช้จ่ายทางการไฟฟ้า เพราะเราสามารถใช้พลังงานทดแทนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ จึงทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าไฟฟ้านั้นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ประเทศไทยผลิตพลังงานจากแหล่งไหนมากที่สุด’’ ที่เราได้นำมาฝากทุกๆท่านกันในข้างต้น หวังว่าจะชอบกันนะครับ

About the Author

You may also like these