ปัจจัยขับเคลื่อนราคาน้ำมันดิบ

น้ำมันดิบ

กล่าวได้ว่า “น้ำมัน” มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าถูกนำมาใช้ในด้าน การเดินทาง การขนส่งสินค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้า และการทำความร้อน เป็นต้น หลายคนอาจสงสัยถึงราคาน้ำมันที่มีการปรับขึ้นลงตลอดเวลา

ทำความรู้จักกับเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ

เชื้อเพลิงจากธรรมชาติแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

●น้ำมันดิบ (Crude Oil) น้ำมันดิบประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามคุณสมบัติและชนิดของไฮโดรคาร์บอน

–       น้ำมันดิบชนิดที่ไม่มีไขมาก (paraffin base)

–       น้ำมันดิบชนิดที่มียางมะตอยมาก (asphalt/naphthenic base)

–       น้ำมันดิบชนิดผสม (mixed base) เป็นน้ำมันดิบพื้นฐานชนิดผสมกันระหว่างชนิดมีไขมากและชนิดที่มียางมะตอยมาก

ลักษณะทางกายภาพของน้ำมันดิบโดยทั่วไปจะมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป เมื่อน้ำมันดิบรวมอยู่กับน้ำ น้ำมันดิบจะลอยอยู่เหนือน้ำเสมอ

          ภายหลังจากผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์ รวมทั้งเตาเผา และเตาอบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัดและน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น เป็นน้ำมันก๊าด เป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำมันชักเงา น้ำยาทำความสะอาด เป็นเชื้อเพลิงบ่มยาสูบ อบพืชผลและใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก

●ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) โดยทั่วไปสามารถแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

– Dry gas หมายถึงแก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ

– Wet gas หมายถึง แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกแก๊สธรรมชาติเหลว ได้แก่ โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน แก๊สเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง ทาให้เกิดปัญหาในการขนส่งชนิดของก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซมีเทนใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสาหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร เอ็นจีวี ( Natural gas for vehicles – NGV) อีเทน และโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas – LPG) ซึ่งประกอบด้วยโพรเพนและบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถและอุตสาหกรรม แก๊สโซลีนธรรมชาติ (Natural gas liquid – NGL) ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินแก๊สธรรมชาติ

น้ำมันดิบเอาไปทำอะไร?

น้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาไม่ได้มีความบริสุทธิ์ 100% เพราะยังมีสารเคมีอื่นๆ ผสมอยู่ต้องกำจัดออกก่อนที่จะนำไปกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมชนิดอื่นๆ ด้วยโรงกลั่น โดยในไทยมีเองโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 7 แห่ง เมื่อโรงกลั่นน้ำมันกลั่นน้ำมันดิบออกมาแล้วก็จะได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ เช่น น้ำมันดีเซล, น้ำมันเบนซิน, ก๊าซ LPG , น้ำมันเครื่องบิน, น้ำมันเตา, น้ำมันหล่อลื่น, ยางมะตอย, และสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบ

สภาพเศรษฐกิจโลก : เป็นปัจจัยที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ความต้องการใช้น้ำมันจะสูงขึ้นราคาน้ำมันก็อาจจะสูงขึ้น

กำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันและโรงกลั่น : หากการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ จะส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากความต้องการลดลงน้อยกว่ากำลังการผลิต หรือหากผู้ผลิตน้ำมันปรับเพิ่มอัตราการผลิต ทำให้มีปริมาณน้ำมันในตลาดเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้เช่นกัน

ภูมิรัฐศาสตร์มีผลต่อราคาน้ำมัน : หากเกิดความไม่สงบหรือความขัดแย้งในบริเวณประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างที่เป็นข่าวบ่อยครั้ง จะเกิดอุปสรรคในการขนส่ง อาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเข้าสู่ตลาดลดลง

อัตราแลกเปลี่ยน : หากเกิดการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลหลักกับเงินสกุลท้องถิ่นที่ใช้ในการซื้อขายน้ำมัน จะทำให้ต้นทุนในการซื้อขายเปลี่ยนไปด้วย

เทคโนโลยีการผลิต : หากเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสามารถผลิตได้เพียงพอและแข่งขันกับราคาน้ำมันได้ อาจส่งผลให้ความต้องการน้ำมันลดลง ราคาก็จะถูกลงและนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ปัจจัยขับเคลื่อนราคาน้ำมันดิบ” ที่เราได้หามาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับนักอ่านทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยครับ

About the Author

You may also like these