ปัญหาระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนในประเทศไทยเกิดจากอะไร?

ระบบสุขภาพ

ในวันนี้เราจะมาศึกษาปัญหาเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพของประชาในประเทศไทยกันว่า เราเจอกับปัญหาอะไรข้อไหนกันบ้าง แต่ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ในการกำหนดจุดสมดุลของระบบการดูแลสุขภาพของสมาชิกของชุมชนหรือประชาชนของประเทศหนึ่งนั้น นโยบายด้านสุขภาพจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ซึ่งต้องคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจ ปัญหาสุขภาพและความรุนแรงของปัญหา ตลอดรวมถึงระบบการให้บริการ (สถานที่ให้บริการ บุคลากรที่ให้บริการ เทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพ ระบบการส่งต่อผู้ป่าว ระบบการเบิกจ่าย `ฯลฯ) ด้วย แต่ในวันนี้เราจะไปเจาะปัญหาในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในแต่ละข้อกันครับ

1. ประชาชนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ไร้สัญชาติและกลุ่มผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่กันดาร ซึ่งมีอุปสรรคในการติดต่อกับสถานที่ราชการ ไม่มีบัตรประชาชน จึงไม่มีสิทธิในการได้รับหลักประกันสุขภาพตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากนี้ ยังขาดความชัดเจนในทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักฐานที่จำเป็นต้องแสดงเมื่อเข้ารับบริการ

2. ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีฐานะยากจนยังคงมีปัญหาในการรับภาระด้านการเดินทาง และค่าเสียโอกาสจากการต้องหยุดงานเมื่อประสงค์จะเข้ารับบริการสาธารณสุข จึงไม่สามารถเข้ารับบริการได้ แม้จะเข้าถึงหลักประกันสุขภาพตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

3. โครงสร้างของปัญหาการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพมีความเชื่อมโยงกับปัญหาในมิติอื่น ๆ เช่น การคมนาคมขนส่ง การเมืองการปกครอง ซึ่งเกี่ยวพันกับภารกิจของหน่วยงานอื่น และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างบูรณาการ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

4. การเข้าถึงบริการสาธารณสุขเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาโอกาสและช่องทางการเข้ารับบริการ ควบคู่ไปกับสิทธิในการเข้ารับบริการที่ปัจจุบันได้รับการรับรองตามกฎหมาย

การสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ป่วยถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลที่พึงได้ของตนและให้ผู้ป่วยมีสิทธิในการได้รับรู้ข้อมูลการรับษาของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและมีการบังคับใช้จริง ทั้งในส่วนของกระบวนการรักษา และยาที่ใช้ในการรักษา เพื่อให้ได้ทราบทางเลือกของตนเกี่ยวกับบริการสุขภาพตามสิทธิที่พึงได้รับ ตลอดจนการได้รับการชดเชยเยียวยาผบกระทบจากการรักษาที่ผิดพลาดตามสมควร รวมถึง พัฒนาช่องทางการบริการสำหรับเฉพาะ เช่น กลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยสำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาตินั้น อาจควรพิจารณาให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการด้านสุขภาพที่จัดเก็บเงินสมทบจากแรงงานข้ามชาติเป็นการเฉพาะ เพื่อความยั่งยืนในการบริการโดยไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ รวมทั้งพัฒนาช่องทางการร้องเรียนกรณีที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขหรือไม่ได้รับความเท่าเทียมกันของคุณภาพการบริการ

About the Author

You may also like these